nayok

นายสมบุญ  ฤทธิ์เอนก

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดกรวด

p.mana

สิบเอกมานะ สุรวัตร

ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตลาดกรวด

แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT)

                    

                 ita 67 ภายนอก

          ขอเชิญร่วมประเมินการทำงาน

แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(EIT)

           www

  เว็บสำรอง อบต.ตลาดกรวด

ข้อมูล คู่มือ ผลงานและอื่นๆ

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์

11122kkk

ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

เว็ปไซด์ ที่น่าสนใจ

 

 mht

 

logo 10x10 cm

 

ang

 

ssa

 

s-ong

 

 

 

 


จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชม

1314039
วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
รวม( 22/3/2559)
626
1133
626
1306022
24496
38605
1314039

Your IP: 3.149.251.22
Server Time: 08.30

สมุนไพรใกล้ตัว(แก้ไอ เจ็บคอ )

ถ้าไอเรื้อรังไม่หายสักที ก็อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการไอก็มีทั้งไอแห้งและไอที่มีเสมหะ เราลองมาดูว่าโบร่ำโบราณใช้ยาสมุนไพรอะไรบ้างเป็นยาแก้ไอ ซึ่งจำแนกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีสารสำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ขิง กระเทียม ดีปลี

กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีสารสำคัญเป็นกรด คือ รสเปรี้ยว ตามสรรพคุณยาไทย รสเปรี้ยวบำรุง ธาตุน้ำ กัดเสมหะ ฟอกโลหิต ได้แก่ มะนาว มะขามป้อม

กลุ่มที่ 3 กลุ่มสมุนไพรอื่น ๆ ได้แก่ มะแว้งเครือ มะแว้งต้น เพกา มะเขือแจ้

1. มะนาว เป็นยาสมุนไพรครอบจักรวาลก็ว่าได้ มีสรรพคุณมากมาย และยังเป็นสมุนไพรที่หาง่าย แต่บางฤดูกาลก็มีราคาแพงสูงถึงลูกละ 10 บาท เมื่อมีอาการไอระคายคอมักได้รับคำแนะนำให้ฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง ๆ หรือหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ จิ้มเกลือ อมทิ้งไว้สักครูแล้วเคี้ยวกลืน หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำอุ่นผสมเกลือเล็กน้อยใช้จิบ ช่วยป้องกันไข้หวัดได้ด้วย หรือตำรับเก่าแก่ของมนุษย์ทั้งโลกใช้ คือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งจิบแก้ไอ

2. มะขามป้อม ใช้แก้ไอแห้ง ไม่มีเสมหะ มีอาการริมฝีปากแห้ง และรู้สึกร้อนในอกไอที่มาจากทรวงอกจนเจ็บชายโครง หรือไอมานานแล้วไม่หาย ใช้ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่มหรือจิบ หรือใช้ผลสดต้มกับน้ำตาลทรายแดง มะขามป้อมมีรสฝาดเปรี้ยว หลังจากกลืนลงคอไปแล้วจะมีรสหวานชุ่มชื่นคอมาก ขิง รักษาอาการไอและขับเสมหะ หรือมีเสลดติดที่หลอดลมมาก ๆ ขิงจะช่วยให้หลอดลมขยายขึ้น และขับของเหนียวข้นออกมาได้ง่าย ให้ใช้เหง้าขิงสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ใส่น้ำ 3 แก้ว นำไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว แล้วจิบกินตอนอุ่น ๆ หรือใช้ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ใช้รักษาอาการไอเรื้อรังให้เอาน้ำที่คั้นจากเหง้าสดประมาณ 1 ลิตร ผสมน้ำผึ้งประมาณ 500 กรัมเคี่ยวในกระทะทองเหลือง ทำจนน้ำระเหยไปหมดแล้วจึงเอามาปั้นเป็นเม็ดเท่าลูกพุทราจีนใช้อม

3. มะแว้งต้น/มะแว้งเครือ ปัจจุบันมะแว้งได้รับการพัฒนาจากองค์การเภสัชกรรมผลิตและจำหน่ายยาอมมะแว้ง สรรพคุณช่วยแก้ไอและชุ่มคอ แต่เราสามารถใช้ในรูปของอาหารและยาได้โดยใช้ผลสดตำกับน้ำพริกหรือใช้รับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริกถือเป็นการใช้ในรูปแบบอาหารเป็นยาหรือใช้ผลมะแว้งเครือ/ต้นสด5-6ผลล้างให้สะอาดเคี้ยวอมไว้กลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายทิ้งหรือใช้ผลสด5-10 ผลโขลกพอแตกคั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ เวลาไอ

4. กระเทียม ใช้กระเทียมและขิงสดอย่างละเท่ากัน ตำละเอียดละลายกับน้ำอ้อยสดคั้นน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง หรือคั้นกระเทียมกับน้ำมะนาวเติมเกลือใช้จิบหรือกวาดคอก็ได้ กระเจี๊ยบแดง ใช้กลีบเลี้ยงดอกสดหรือแห้งประมาณ 1-2 กำมือ ต้มกับน้ำเติมน้ำตาลและเกลือใช้จิบบ่อย ๆ ช่วยให้ชุ่มชื่นคอ ดีปลี ใช้แก้อาการไอมีเสมหะ ควรใช้ดีปลีประมาณครึ่งผล ตำละเอียดเติมน้ำมะนาวและเกลือเล็กน้อย กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ

5. มะขาม ใช้กัดเสมหะ เอามะขามเปียก 3 กรัม จิ้มเกลือรับประทาน หรือนำมะขามเปียกมาต้มกับน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย จะได้ยาขับเสมหะที่มีรสกลมกล่อม ข้อควรระวัง มะขามเปียกมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป

6. มะเขือแจ้/มะเขือขื่น อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะเรามักจะบริโภคมะเขือเปราะ มะเขือยาวมากกว่ามะเขือแจ้ เมื่อผลแก่จัดมีสีเหลืองนิยมทานกับน้ำพริก ก่อนเอามาทานจะเอามาแช่น้ำเกลือก่อนเพื่อให้กรอบและทานง่าย ถ้าไอเรื้อรังยาวนานหรือไอถึงขั้นปัสสาวะรดใช้ยาตัวนี้ โดยเอารากมาล้างให้สะอาดแช่น้ำฝนหรือน้ำต้มสุกใช้ดื่มวันแรกอาจดูเหมือนดื่มน้ำเปล่า แต่พอวันที่ 2-3 ตัวยาจะมีรสขมขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจลดปริมาณน้อยลง และจะช่วยให้อาการไอมานานนับเดือนนั้นหายเป็นปลิดทิ้ง

7. สับปะรด แก้ไอในอาการคอแห้ง คั้นเอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยจิบ หรือทานทั้งผลก็ได้สับปะรดมีรสเปรี้ยวอมหวาน ช่วยให้ชุ่มคอ ชะเอมเทศและอำมฤควาทีเป็นยาแก้ไอชั้นดีอีกตัวหนึ่ง ช่วยละลายเสมหะที่เป็นก้อน แก้เจ็บคอหรือใช้กวาดคอจะช่วยให้อาการไอและไข้หายไวขึ้น นอกจากนี้ยังได้ถูกบรรจุไว้ในตำรับยาสามัญประจำบ้านหลายตำรับ

และที่สำคัญคือตำรับยาแก้ไออำมฤควาทีที่ใช้ชะเอมเทศจำนวนมากกว่าตัวยาอื่นๆ ตัวยาประกอบด้วย รากไคร้เครือ โกฐพุงปลา เทียนขาว ลูกผักชีลา เนื้อลูกมะขามป้อมเนื้อลูกสมอพิเภก หนักสิ่งละ 7 ส่วน ชะเอมเทศหนัก 43 ส่วน นำส่วนผสมทั้งหมดบดเป็นผง เวลาใช้ให้ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ ใช้จิบหรือกวาดคอแก้ไอขับเสมหะ อีกตำรับหนึ่งมีใบกะเพรา ใบเสนียด ใบคนทีเขมาและน้ำผึ้ง ให้เอายาแต่ละตัวมาตำให้แหลกแล้วบีบหรือคั้น และกรองด้วยผ้าขาวบางสะอาด เอาแต่น้ำมาอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วผสมน้ำผึ้งในสัดส่วนน้ำคั้นสมุนไพรและน้ำผึ้งอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากันดีแล้วให้คนไข้จิบกินบ่อย ๆ ตำรับนี้ช่วยขับเสมหะที่เหนียวข้นตามหลอดลม

Written on 18/02/2563, 10:47 by admin
180263เบี้ยบี้ยยังชีพคนชรา –...
Written on 18/02/2563, 10:43 by admin
141.ตรวจสอบการรั่วไหลของก๊อกและท่อน้ำ 2.อย่าใช้ห้องน้ำเป็นที่ทิ้งบุหรี่หรือคิดว่าเป็นที่ทิ้งขยะ บางคนอาจทิ้งบุหรี่ หรือเขี่ยก้นบุหรี่ลงบนพื้นห้องน้ำ...
Written on 28/06/2561, 11:14 by admin
001114477ทั้งนี้ ชื่อโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ นำมาจากคำว่า "corona"  "virus" และ "disease" (โรค) กับปี 2019...
Written on 22/01/2561, 14:08 by admin
2018-01-22-07-08-57ถ้าไอเรื้อรังไม่หายสักที ก็อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการไอก็มีทั้งไอแห้งและไอที่มีเสมหะ เราลองมาดูว่าโบร่ำโบราณใช้ยาสมุนไพรอะไรบ้างเป็นยาแก้ไอ ซึ่งจำแนกได้ 3...
Written on 05/04/2559, 13:18 by admin
2016-04-05-06-18-00คุณรู้หรือไม่ คนไทยสร้างขยะรวมกันมากกว่า 27 ล้านตันต่อปี เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีขยะถูกทิ้งมากถึงเกือบ 1 ใน 5 ของทั้งประเทศ...