โควิด-19
ทั้งนี้ ชื่อโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ นำมาจากคำว่า "corona" "virus" และ "disease" (โรค) กับปี 2019 ซึ่งเป็นปีที่องค์การอนามัยโลกได้รับแจ้งเหตุการระบาดเมื่อ 31 ธันวาคม
ส่วนชื่อไวรัส คาดว่าจะชื่อ SARS-CoV-2 แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการเสนอ รออนุมัติทางการ
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก กล่าวด้วยว่า โลกควรพิจารณาหาทางรับมือการแพร่ระบาดเป็นวาระสำคัญ และยอมรับว่า สถานการณ์ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ รอบนี้ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มากกว่าการก่อการร้าย
ส่วนการพัฒนาวัคซีนป้องกันยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ซึ่งการพัฒนาวัคซีนแรก อาจต้องใช้เวลาถึง 18 เดือนเป็นอย่างน้อย ในระหว่างนี้ การตรวจหาผู้ติดเชื้อไวรัสอย่างทันท่วงที และป้องกันตนเองจากการติดเชื้อด้วยวิธีเบื้องต้น เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนเพื่อสกัดกั้นการระบาดของไวรัส
อีกด้าน นายแพทย์จง หนานซาน ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของทางการจีน และหัวหน้าชุดสอบสวนไวรัสของจีน บอกสำนักข่าวรอยเตอร์ส ว่า การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสจะถึงจุดสูงสุดในเดือนนี้ หลังเริ่มเห็นสัญญาณ จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงในบางมณฑล และคาดว่าสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 จะสิ้นสุดลงในเดือนเมษายน
14 วิธีประหยัดน้ำ ลดค่าใช้จ่าย ช่วยภัยแล้ง
1.ตรวจสอบการรั่วไหลของก๊อกและท่อน้ำ
2.อย่าใช้ห้องน้ำเป็นที่ทิ้งบุหรี่หรือคิดว่าเป็นที่ทิ้งขยะ บางคนอาจทิ้งบุหรี่ หรือเขี่ยก้นบุหรี่ลงบนพื้นห้องน้ำ ชักโครก หรือทิ้งกระดาษทิชชูซับหน้าแผ่นเล็ก คุณรู้หรือไม่ว่าเราต้องใช้น้ำ 5-7 แกลลอนในการทำความสะอาดสิ่งสกปรกเหล่านั้น
3.เช็คการรั่วไหลของชักโครก ด้วยการเทสีผสมอาหารเล็กน้อยลงในถังชักโครก แล้วทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หากมีสีรอยปรากฏในโถชักโครก นั่นหมายความว่าชักโครกของคุณรั่ว ต้องรีบซ่อมแซมด่วน
4.ใช้มิเตอร์น้ำตรวจเช็คการรั่วไหลของน้ำที่อาจซ่อนอยู่ อ่านมิเตอร์น้ำก่อนและหลังการใช้น้ำ 2 ชั่วโมง ถ้าไม่สามารถอ่านได้ แสดงว่ามีจุดที่น้ำรั่วไหล
5.ติดตั้งหัวฝักบัวประหยัดน้ำ และก๊อกน้ำควบคุมการไหลของน้ำ
6.ใส่ขวดพลาสติกลงในถังชักโครก เพื่อลดการสูญเสียน้ำ ให้คุณใส่ทรายหรือกรวดหรือทั้งสองชนิดลงในขวดพลาสติก จากนั้นกรอกน้ำลงไปแล้วปิดฝาขวดให้แน่น จากนั้นวางขวดลงในถังชักโครก ซึ่งมันจะช่วยให้กลไกการทำงานมีความปลอดภัย และยังช่วยประหยัดน้ำด้วย
7.ป้องกันท่อน้ำ มันง่ายและถูกมากที่จะรักษาท่อน้ำของคุณด้วยการใช้โฟมรองท่อฉนวนกันความร้อนก่อน เมื่อน้ำในท่อโดยเฉพาะถ้าเป็นท่อน้ำร้อนไหลแรง ท่อน้ำของคุณก็จะไม่เสี่ยงต่อการรั่วไหล
Advertisement
8.ใช้เวลาอาบน้ำให้สั้นลง อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดการใช้น้ำคือใช้เวลาอาบน้ำให้สั้นลง และปิดก๊อกน้ำเมื่อต้องฟอกสบู่ หลังจากนั้นถึงเปิดมันอีกครั้งเมื่อต้องล้างตัว
9.ปิดน้ำในขณะแปรงฟัน ไม่จำเป็นต้องเปิดน้ำทิ้งไว้ในขณะแปรงฟัน เพราะถือว่าเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
10.ล้างมีดโกนในซิงก์ล้างหน้า เติมน้ำลงในซิงก์ให้มีความสูงประมาณ 1 นิ้ว นี่คือวิธีการล้างมีดโกนที่เหมาะสมมากกว่าการเปิดน้ำไหลไปเรื่อยๆ
11.ใช้เครื่องซักผ้าหรือเครื่องล้างจานเมื่อมีปริมาณเสื้อและจานเต็มเครื่อง เมื่อเราจะล้างจานหรือซักผ้า ควรใส่สิ่งที่จะทำความสะอาดให้เต็มที่ เพราะเราควรซักเสื้อผ้ารวมกันครั้งเดียวทีละมากๆ เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองน้ำ
12.อย่าใช้ซิงก์ในห้องครัวเป็นที่ทิ้งเศษอาหาร การทิ้งเศษอาหารลงในซิงก์ล้างจาน จะทำให้เกิดปัญหาท่ออุดตัน และยังทำให้ซิงก์สกปรก ซึ่งจะต้องใช้น้ำจำนวนมากในการทำความสะอาด ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนำขยะไปแปรสภาพคือการทำปุ๋ยหมัก
13.เวลาล้างจานอย่าเปิดน้ำทิ้ง ถ้าเป็นไปได้คุณควรแยกอ่างล้างจานเป็น 2 ใบ ใบแรกสำหรับขัดถูด้วยน้ำสบู่ ส่วนอีกใบสำหรับล้างน้ำเปล่า
14.อย่าล้างผักด้วยการใช้น้ำไหล วิธีการแนะนำคือการแช่และล้างผักลงในอ่างที่ปิดก้นอ่าง ช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่าการเปิดน้ำไหลและทำความสะอาด
ลดการสร้างขยะด้วยแนวคิด 3R ลดใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำ และรีไซเคิล
คุณรู้หรือไม่ คนไทยสร้างขยะรวมกันมากกว่า 27 ล้านตันต่อปี เฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯ มีขยะถูกทิ้งมากถึงเกือบ 1 ใน 5 ของทั้งประเทศ และยังพบว่าปริมาณขยะในไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจากข้อมูลล่าสุดเมื่อปีที่ผ่านมา มีปริมาณขยะมากถึง 27.4 ล้านตัน เป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ประมาณ 1.6% ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ชุมชนเมืองขยายตัว การท่องเที่ยว และปริมาณการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
ขยะบางส่วนอย่าง ขยะพลาสติก ซึ่งมีปริมาณประมาณ 2 ล้านตัน มีเพียงแค่ 5 แสนตันเท่านั้น ที่ถูกนำไปรีไซเคิล ในขณะที่ส่วนใหญ่แล้วถูกนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ และมีขยะมากถึง 27% ที่ถูกกำจัดด้วยวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เช่น การลักลอบทิ้งในที่สาธารณะ ขยะเหล่านี้บางส่วนเล็ดลอดกลายเป็นขยะจากบนบกที่ถูกปะปนทิ้งลงสู่ท้องทะเล ซึ่งกำลังก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางทะเล เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล อย่างที่กำลังประสบภาวะวิกฤตมลพิษทางทะเลอยู่ในขณะนี้
คำถามคือ จะทำอย่างไรให้ปริมาณขยะเหล่านี้ลดลง คำตอบของคำถามนี้คงต้องเริ่มต้นที่ตัวเราทุกๆ คน นั่นคือ การลดการสร้างขยะ โดยเริ่มต้นลดขยะที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันลง และหนึ่งในแนวคิด ในการลดปริมาณขยะ ที่ทุกคนสามารทำได้ง่ายๆ คือ ลดขยะตามแนวคิด 3R (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs)
การลดขยะ ด้วยแนวคิด 3R
3R เป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)
Reduce – ลดการใช้ (คิดก่อนใช้)
ลดระดับการใช้ปัจจุบัน ควบคุมปริมาณการใช้ให้อยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยลดการใช้ การบริโภคทรัพยากรที่ไม่จำเป็นลง เพราะการลดการบริโภคของเรา จะช่วยให้เราลดปริมาณขยะที่สร้างขึ้นได้ ในขั้นตอนนี้เริ่มต้นโดยการสำรวจว่าเราจะลดการบริโภคที่ไม่จำเป็นตรงไหนได้บ้าง ตัวอย่าง เช่น
ลดการสร้างขยะในที่ทำงาน
แก้ไขบนหน้าจอไม่ใช่บนกระดาษ เพื่อลดการใช้กระดาษ
ใช้อีเมลเพื่อลดการใช้กระดาษ
คิดก่อนพิมพ์หรือถ่ายสำเนา พิมพ์และทำสำเนาให้น้อยที่สุด
ส่งและจัดเก็บเอกสาร เช่น เอกสารที่จำเป็นและข้อเสนอทางธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะเป็นกระดาษ
เมื่อต้องพิมพ์หรือทำสำเนาให้ทำสองด้าน
หมุนเวียนเอกสารแทนการทำสำเนาเฉพาะสำหรับทุกคน
เปลี่ยนระยะขอบบนเอกสาร Word ระยะขอบเริ่มต้นของเอกสารที่พิมพ์คือ 1.25 นิ้วทุกด้าน เพียงเปลี่ยนระยะขอบเป็น 0.75 นิ้วจะช่วยลดปริมาณกระดาษที่ใช้ลงเกือบ 5 เปอร์เซ็นต์
ลดการสร้างขยะในชีวิตประจำวัน
ใช้ถุงผ้า ตระกร้า เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติก
ใช้ผ้าเช็ดหน้าแทนการใช้กระดาษทิชชู่
ใช้ปิ่นโต หรือกล่องข้าวใส่อาหาร แทนการใส่กล่องโฟม
ปฏิเสธการรับถุงพลาสติก เมื่อซื้อของชิ้นเล็กหรือน้อยชิ้น
เลือกซื้อบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เลือกทานอาหารที่ร้านแทนการใส่กล่องกลับ
หลีกเลี่ยงใช้วัสดุสิ้นเปลืองแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง
Reuse – นำกลับมาใช้ซ้ำ (ใช้แล้วใช้อีก)
การใช้ซ้ำ เป็นการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด โดยการนำสิ่งของเครื่องใช้มาใช้ซ้ำ ซึ่งบางอย่างอาจใช้ซ้ำได้หลาย ๆ ครั้ง เช่น ใช้บรรจุภัณฑ์ซ้ำหลายครั้งก่อนทิ้ง ใช้ภาชนะที่สามารถใช้ซ้ำได้ เลือกซื้อสินค้าที่สามารถใช้ซ้ำได้ ซึ่งนอกจากช่วยลดการเกิดขยะแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการตัดต้นไม้ได้เป็นจำนวนมาก
เลือกใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์ตได้
ดัดแปลงของเหลือใช้เพื่อใช้ประโยชน์
เสื้อผ้าเก่านำไปบริจาค หรือถูพื้น
ซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ทิ้งเป็นขยะ
การใช้กระดาษ 2 หน้า
การนำกระดาษรายงานที่เขียนแล้ว 1 หน้า มาใช้ในหน้าที่เหลือหรืออาจนำมาทำเป็นกระดาษโน๊ต
Recycle – นำกลับมาใช้ใหม่
คัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภท ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หมุนเวียนกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตของแต่ละประเภทได้
ขวดแก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ
เลือกซื้อสินค้าที่นำกลับมารีไซเคิลได้หรือที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล
นำขยะอินทรีย์กลับมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก
หากเราทุกคน สามารถทำได้ครบทั้ง 3Rs ก็จะสามารถลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้ในทุกๆ วัน ลดการสร้างมลพิษเเก่โลก และยังนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า แทนที่จะถูกทิ้งแล้วนำไปกำจัด และนอกจากช่วยลดปริมาณขยะลงได้แล้ว ยังช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากร ใช้ทรัพยากรอย่างคุมค่า ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ด้วย
สมุนไพรใกล้ตัว(แก้ไอ เจ็บคอ )
ถ้าไอเรื้อรังไม่หายสักที ก็อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาการไอก็มีทั้งไอแห้งและไอที่มีเสมหะ เราลองมาดูว่าโบร่ำโบราณใช้ยาสมุนไพรอะไรบ้างเป็นยาแก้ไอ ซึ่งจำแนกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีสารสำคัญเป็นน้ำมันหอมระเหย ได้แก่ ขิง กระเทียม ดีปลี
กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีสารสำคัญเป็นกรด คือ รสเปรี้ยว ตามสรรพคุณยาไทย รสเปรี้ยวบำรุง ธาตุน้ำ กัดเสมหะ ฟอกโลหิต ได้แก่ มะนาว มะขามป้อม
กลุ่มที่ 3 กลุ่มสมุนไพรอื่น ๆ ได้แก่ มะแว้งเครือ มะแว้งต้น เพกา มะเขือแจ้
1. มะนาว เป็นยาสมุนไพรครอบจักรวาลก็ว่าได้ มีสรรพคุณมากมาย และยังเป็นสมุนไพรที่หาง่าย แต่บางฤดูกาลก็มีราคาแพงสูงถึงลูกละ 10 บาท เมื่อมีอาการไอระคายคอมักได้รับคำแนะนำให้ฝานมะนาวเป็นชิ้นบาง ๆ หรือหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าชิ้นเล็ก ๆ จิ้มเกลือ อมทิ้งไว้สักครูแล้วเคี้ยวกลืน หรือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำอุ่นผสมเกลือเล็กน้อยใช้จิบ ช่วยป้องกันไข้หวัดได้ด้วย หรือตำรับเก่าแก่ของมนุษย์ทั้งโลกใช้ คือใช้น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งจิบแก้ไอ
2. มะขามป้อม ใช้แก้ไอแห้ง ไม่มีเสมหะ มีอาการริมฝีปากแห้ง และรู้สึกร้อนในอกไอที่มาจากทรวงอกจนเจ็บชายโครง หรือไอมานานแล้วไม่หาย ใช้ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่มหรือจิบ หรือใช้ผลสดต้มกับน้ำตาลทรายแดง มะขามป้อมมีรสฝาดเปรี้ยว หลังจากกลืนลงคอไปแล้วจะมีรสหวานชุ่มชื่นคอมาก ขิง รักษาอาการไอและขับเสมหะ หรือมีเสลดติดที่หลอดลมมาก ๆ ขิงจะช่วยให้หลอดลมขยายขึ้น และขับของเหนียวข้นออกมาได้ง่าย ให้ใช้เหง้าขิงสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลทราย 30 กรัม ใส่น้ำ 3 แก้ว นำไปต้มให้เหลือครึ่งแก้ว แล้วจิบกินตอนอุ่น ๆ หรือใช้ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ ใช้รักษาอาการไอเรื้อรังให้เอาน้ำที่คั้นจากเหง้าสดประมาณ 1 ลิตร ผสมน้ำผึ้งประมาณ 500 กรัมเคี่ยวในกระทะทองเหลือง ทำจนน้ำระเหยไปหมดแล้วจึงเอามาปั้นเป็นเม็ดเท่าลูกพุทราจีนใช้อม
3. มะแว้งต้น/มะแว้งเครือ ปัจจุบันมะแว้งได้รับการพัฒนาจากองค์การเภสัชกรรมผลิตและจำหน่ายยาอมมะแว้ง สรรพคุณช่วยแก้ไอและชุ่มคอ แต่เราสามารถใช้ในรูปของอาหารและยาได้โดยใช้ผลสดตำกับน้ำพริกหรือใช้รับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริกถือเป็นการใช้ในรูปแบบอาหารเป็นยาหรือใช้ผลมะแว้งเครือ/ต้นสด5-6ผลล้างให้สะอาดเคี้ยวอมไว้กลืนเฉพาะน้ำจนหมดรสขมแล้วคายทิ้งหรือใช้ผลสด5-10 ผลโขลกพอแตกคั้นเอาแต่น้ำใส่เกลือเล็กน้อย จิบบ่อยๆ เวลาไอ
4. กระเทียม ใช้กระเทียมและขิงสดอย่างละเท่ากัน ตำละเอียดละลายกับน้ำอ้อยสดคั้นน้ำจิบแก้ไอ ขับเสมหะ และทำให้เสมหะแห้ง หรือคั้นกระเทียมกับน้ำมะนาวเติมเกลือใช้จิบหรือกวาดคอก็ได้ กระเจี๊ยบแดง ใช้กลีบเลี้ยงดอกสดหรือแห้งประมาณ 1-2 กำมือ ต้มกับน้ำเติมน้ำตาลและเกลือใช้จิบบ่อย ๆ ช่วยให้ชุ่มชื่นคอ ดีปลี ใช้แก้อาการไอมีเสมหะ ควรใช้ดีปลีประมาณครึ่งผล ตำละเอียดเติมน้ำมะนาวและเกลือเล็กน้อย กวาดคอหรือจิบบ่อย ๆ
5. มะขาม ใช้กัดเสมหะ เอามะขามเปียก 3 กรัม จิ้มเกลือรับประทาน หรือนำมะขามเปียกมาต้มกับน้ำตาลและเกลือเล็กน้อย จะได้ยาขับเสมหะที่มีรสกลมกล่อม ข้อควรระวัง มะขามเปียกมีฤทธิ์เป็นยาระบายด้วย จึงไม่ควรรับประทานมากเกินไป
6. มะเขือแจ้/มะเขือขื่น อาจไม่เป็นที่รู้จักมากนัก เพราะเรามักจะบริโภคมะเขือเปราะ มะเขือยาวมากกว่ามะเขือแจ้ เมื่อผลแก่จัดมีสีเหลืองนิยมทานกับน้ำพริก ก่อนเอามาทานจะเอามาแช่น้ำเกลือก่อนเพื่อให้กรอบและทานง่าย ถ้าไอเรื้อรังยาวนานหรือไอถึงขั้นปัสสาวะรดใช้ยาตัวนี้ โดยเอารากมาล้างให้สะอาดแช่น้ำฝนหรือน้ำต้มสุกใช้ดื่มวันแรกอาจดูเหมือนดื่มน้ำเปล่า แต่พอวันที่ 2-3 ตัวยาจะมีรสขมขึ้นเรื่อยๆ ก็อาจลดปริมาณน้อยลง และจะช่วยให้อาการไอมานานนับเดือนนั้นหายเป็นปลิดทิ้ง
7. สับปะรด แก้ไอในอาการคอแห้ง คั้นเอาน้ำผสมเกลือเล็กน้อยจิบ หรือทานทั้งผลก็ได้สับปะรดมีรสเปรี้ยวอมหวาน ช่วยให้ชุ่มคอ ชะเอมเทศและอำมฤควาทีเป็นยาแก้ไอชั้นดีอีกตัวหนึ่ง ช่วยละลายเสมหะที่เป็นก้อน แก้เจ็บคอหรือใช้กวาดคอจะช่วยให้อาการไอและไข้หายไวขึ้น นอกจากนี้ยังได้ถูกบรรจุไว้ในตำรับยาสามัญประจำบ้านหลายตำรับ
และที่สำคัญคือตำรับยาแก้ไออำมฤควาทีที่ใช้ชะเอมเทศจำนวนมากกว่าตัวยาอื่นๆ ตัวยาประกอบด้วย รากไคร้เครือ โกฐพุงปลา เทียนขาว ลูกผักชีลา เนื้อลูกมะขามป้อมเนื้อลูกสมอพิเภก หนักสิ่งละ 7 ส่วน ชะเอมเทศหนัก 43 ส่วน นำส่วนผสมทั้งหมดบดเป็นผง เวลาใช้ให้ละลายน้ำมะนาวแทรกเกลือ ใช้จิบหรือกวาดคอแก้ไอขับเสมหะ อีกตำรับหนึ่งมีใบกะเพรา ใบเสนียด ใบคนทีเขมาและน้ำผึ้ง ให้เอายาแต่ละตัวมาตำให้แหลกแล้วบีบหรือคั้น และกรองด้วยผ้าขาวบางสะอาด เอาแต่น้ำมาอย่างละเท่า ๆ กัน แล้วผสมน้ำผึ้งในสัดส่วนน้ำคั้นสมุนไพรและน้ำผึ้งอย่างละเท่า ๆ กัน ผสมให้เข้ากันดีแล้วให้คนไข้จิบกินบ่อย ๆ ตำรับนี้ช่วยขับเสมหะที่เหนียวข้นตามหลอดลม